หัวข้อ   “ คนกรุงกับปัญหาค่าครองชีพหลังรัฐขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ
คนกรุงเทพฯ 73.5% กังวลมากว่าราคาสินค้าอาจสูงขึ้น จากการขึ้นราคาก๊าซ-ทางด่วน-ค่าไฟ โดย 75.8%
เห็นว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาระทางการเงิน วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาของแพง ก่อนปฏิรูปการเมือง
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ เมื่อ
วันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้
ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “คนกรุงกับปัญหาค่าครองชีพ
หลังรัฐขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,188 คน พบว่า
 
                 คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 73.5 กังวลมากถึงมากที่สุดต่อราคาสินค้าที่อาจ
จะสูงขึ้น หลังมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ
ขณะที่ร้อยละ 26.5 กังวล
น้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อถามต่อว่าการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ จะส่ง
ผลกระทบต่อภาระทางการเงินของท่านมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 75.8 เห็นว่าจะ
กระทบมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 24.2 เห็นว่าจะกระทบน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                 นอกจากนี้เมื่อถามว่า “ปัจจุบันราคาข้าวของแพงขึ้น ส่งผลต่อชีวิต
ความเป็นอยู่ของท่านหรือไม่อย่างไร” ร้อยละ 87.2 เห็นว่าส่งผล
โดยร้อยละ 40.0
ระบุว่ามีเงินออมน้อยลงกว่าเดิม และร้อยละ 29.2 ระบุว่าแทบไม่มีเงินออมเลย ขณะที่
ร้อยละ 18.0 ระบุว่ามีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 12.8 ที่เห็นว่าไม่ส่งผล
 
                 ส่วนความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันท่านคิดว่า รัฐบาลมีการแก้ปัญหาสินค้าราคาแพงได้บ้าง
หรือไม่” คนกรุงเทพร้อยละ 54.0 เห็นว่าไม่ได้
ขณะที่ร้อยละ 11.0 เห็นว่าได้ และร้อยละ 35.0 ไม่แน่ใจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่าเรื่องที่รัฐบาลควรแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้ คือ ปัญหา
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น (ร้อยละ 80.1)
รองลงมาคือ ปัญหาจราจรและการเดินทาง (ร้อยละ 46.9)
ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 44.9) การปฏิรูปการเมือง สร้างความปรองดอง
(ร้อยละ 27.4) การแก้ปัญหาสินค้าราคาเกษตรตกต่ำ (ร้อยละ 25.5) และการแก้รัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 7.2)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความกังวลต่อราคาสินค้าที่อาจจะสูงขึ้น หลังมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 23.1 และมากร้อยละ 50.4)
73.5
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 21.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.6)
26.5
 
 
             2. ความเห็นต่อการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ จะส่งผลกระทบต่อภาระทางการเงิน
                 ของท่านมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 27.6 และมากร้อยละ 48.2)
75.8
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 20.2 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.0)
24.2
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันราคาข้าวของแพงขึ้น ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของท่าน
                 หรือไม่อย่างไร”

 
ร้อยละ
ส่งผล
โดย
มีเงินออมน้อยลงกว่าเดิม
ร้อยละ 40.0
 
แทบไม่มีเงินออมเลย
ร้อยละ 29.2
 
มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.0
87.2
ไม่ส่งผล เหมือนเดิม
12.8
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันท่านคิดว่า รัฐบาลมีการแก้ปัญหาสินค้าราคาแพงได้บ้างหรือไม่”

 
ร้อยละ
ได้
11.0
ไม่ได้
54.0
ไม่แน่ใจ
35.0
 
 
             5. เรื่องที่รัฐบาลควรแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าราคาแพงขึ้น
80.1
ปัญหาจราจรและการเดินทาง
46.9
ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
44.9
การปฏิรูปการเมือง สร้างความปรองดอง
27.4
การแก้ปัญหาสินค้าราคาเกษตรตกต่ำ
25.5
การแก้รัฐธรรมนูญ
7.2
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  - เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม - ค่าทางด่วน - ค่าไฟ จะส่งผลกระทบอย่างไร
                    ต่อประชาชน
                  - เพื่อต้องการสะท้อนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดในตอนนี้
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
20 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย
บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางรัก ปทุมวัน พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง
สวนหลวง และสาทร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดย
การสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน เป็นชายร้อยละ 49.7 และหญิง ร้อยละ 50.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 2 - 4 กันยายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 5 กันยายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
591
49.7
             หญิง
597
50.3
รวม
1,188
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
294
24.7
             26 – 35 ปี
315
26.5
             36 – 45 ปี
280
23.6
             46 ปีขึ้นไป
299
25.2
รวม
1,188
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
719
60.6
             ปริญญาตรี
396
33.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
73
6.1
รวม
1,188
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
151
12.7
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
283
23.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
332
28.0
             เจ้าของกิจการ
45
3.8
             รับจ้างทั่วไป
161
13.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
67
5.6
             นักศึกษา
96
8.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
53
4.4
รวม
1,188
100.0
     
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776